คู่มือการใช้งาน

โดเมน
Control Panel
เวปไซต์
อีเมล

โดเมน

whois
แสดงรายละเอียดของเจ้าของโดเมน เช่น ชื่อ ที่อยู่ อีเมล ตรวจสอบ whois ได้ที่ www.brinkstudio.com คลิก Whois

โดเมนที่จดใหม่ จะปรากฎอีเมลของผู้ติดต่อไว้ให้เป็น whois@<yourdomain> (<yourdomain> คือ ชื่อโดเมนของท่าน) ซึ่งเป็นอีเมลที่ยังไม่ได้สร้างไว้  แต่ท่านสามารถสร้างขึ้นด้วยตนเองได้ในภายหลัง สาเหตุที่ต้องเป็นอีเมลที่ไม่มีตัวตน เพราะอีเมลนี้จะปรากฎในที่สาธารณะ ซึ่งนักส่งเมล์ขยะ สามารถค้นพบชื่ออีเมลนี้จาก whois แล้วส่งเมล์ขยะมาให้ ท่านจึงไม่ควรเปลี่ยนเป็นอีเมลที่มีตัวตน หรือถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นอีเมลอื่น ควรหลีกเลี่ยงอีเมลฟรี เพราะ อีเมลฟรีไม่มีความช่วยเหลือในกรณีที่ อีเมลของท่านถูกตัดบริการ หรือมีปัญหาเกิดขึ้น ท่านจะไม่มีวิธีแก้ไขเลย ต่างจากอีเมลภายใต้โดเมนที่ท่านถือครองอยู่ ที่ท่านสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลระบบที่ท่านฝาก host อยู่ หรือหากผู้ืดูแลระบบไม่ช่วยเหลือ ท่านยังสามารถย้ายไปใช้ host ที่อื่นได้

ข้อมูลที่ปรากฎใน whois เป็นข้อมูลย้อนหลัง ไม่ใช่ข้อมูลในปัจจุบัน ยังบอกไม่ได้ว่าโดเมนว่างหรือไม่ สามารถจดทะเบียนได้หรือไม่ เพราะ ข้อมูลโดเมนที่แท้จริงจะถูกเก็บไว้ที่ Registry ในขณะที่ whois จะเปลี่ยนแปลงช้ากว่า Registry หลายวัน การจะตรวจสอบว่าโดเมนว่างหรือไม่ในเวลานั้น ต้องเข้าไปที่ www.brinkstudio.com คลิก "ตรวจสอบชื่อ"

ความเป็นเจ้าของ
.com .net .org และโดเมนสากลอื่นๆ เจ้าของคือ ผู้ที่ถือรหัสผ่านแก้ไขโดเมน ท่านจึงไม่ควรให้รหัสผ่านนี้แก่ผู้ใด แต่สำหรับ .th ที่ต้องใช้หลักฐานตอนสมัคร เจ้าของคือหน่วยงาน ที่ยื่นเอกสาร

หมดอายุ
โดเมนจะถือเป็นสิทธิของเจ้าของ จนกระทั่งถึงวันหมดอายุ ตรวจสอบวันหมดอายุได้จากสองแห่งคือ Whois http://whois.brinkstudio.com/ และ Control Panel http://home.<yourdomain> การต่ออายุก่อนวันที่โดเมนหมดอาุยุ สามารถทำได้ตลอดเวลา และ การต่ออายุในช่วงนี้จะใช้งานต่อเนื่องได้ไม่สะดุด จำนวนปีมากที่สุดที่ต่ออายุได้คือไม่เกิน 10 ปี นับจากปัจจุบัน

โดเมนที่หมดอายุแล้ว จะปรากฎใน whois ในส่วนบนซึ่งเป็นของ internic ว่าขยายเวลาหมดอายุไปอีก 1 ปี แต่ข้อมูลตรงนั้นเชื่อถือไม่ได้ ต้องดู whois ของ Registrar ในส่วนล่าง ซึ่งเป็นข้อมูลที่แท้จริง โดเมนที่หมดอายุแล้ว จะัยังไม่สามารถย้ายไปต่ออายุที่อื่นได้ ต้องต่ออายุที่ผู้รับจดโดเมนรายเดิมก่อน

โดเมนที่หมดอายุและได้รับการต่ออายุใหม่ ข้อมูลเดิมทั้งในส่วนของเวปไซต์และอีเมลจะไม่หายไปไหน ท่านจะกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมทุกอย่าง โดยไม่มีเนื้อหาส่วนใดถูกแก้ไขหรือบิดเบือนไป แต่ถ้าโดเมนหมดอายุไปเป็นเวลานานเกินหนึ่งปี ข้อมูลอาจถูกลบทิ้ง ขอให้ท่านติดต่อทางบริ๊งเพื่อขอกู้ข้อมูลสำรองกลับคืนมา

โดเมนที่หมดอายุแล้ว จะมีสภาพดังนี้
แก้ไขโดเมน
เข้าไปที่ www.brinkstudio.com คลิก แก้ไขโดเมน  รหัสผ่านอยู่ในอีเมลฉบับแรก ในจำนวนทั้งหมดสองฉบับที่ท่านได้รับ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เปิดใช้งาน หรือหากเปลี่ยนรหัสผ่านไปแล้วลืม เพียงท่านใส่รหัสผ่านผิด หน้าถัดมาจะให้กดส่งรหัสผ่านใหม่ไปที่ admin โดยดูอีเมลของ admin ได้จาก Whois http://whois.brinkstudio.com/ ภายใต้หัวข้อ Administrative Contact

สำหรับท่านที่ลืมทั้งรหัสผ่าน และ อีเมล Administative Contact ใช้งานไม่ได้ด้วย ขั้นแรก ควรพยายามทุกวิถีทางให้ได้รหัสผ่าน เช่น สอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่าใครเป็นคนเปลี่ยนรหัสผ่านไป หรือ พยายามทำให้อีเมลใช้งานได้ ถ้าไม่ได้จริงๆ ท่านจะพบปัญหาหนัก โปรดติดต่อทางบริ๊ง เพื่อทำเรื่องขอเปลี่ยนอีเมล Administrative Contact ซึ่งต้องใช้เอกสารยืนยันตัวตนหลายชิ้น การทำเรื่องเปลี่ยนอีเมลใช้เวลา 3-7 วัน

เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว ให้คลิกตาม link ต่างๆเพื่อแก้ไข หลังจากแก้ไขแล้วจะเปลี่ยนทันที ตรวจสอบผลได้จาก whois

Profile แก้ไข Username และ Password คลิก Change Password เปลี่ยน Password อย่างเดียว โดยไม่เปลี่ยน Username หากท่านมีหลายโดเมน สามารถรวมหรือแยกโดเมนได้ คลิก Change Ownership of Domain
Organization Contact คือเจ้าของโดเมน อีเมลจะไม่ปรากฎใน whois แต่สามารถใช้สำหรับส่งข้อมูลเกี่ยวกับโดเมนเช่น Password จึงควรใช้อีเมลที่มีตัวตน

Admin Contact อีเมลจะปรากฎใน whois สามารถดำเนินการเกี่ยวกับโดเมนได้ทั้งหมด ตั้งแต่ใช้ส่ง Password จนถึงย้ายโดเมน

Billing/Technical Contact อีเมลจะปรากฎใน whois และไม่มีหน้าที่ใดๆที่ชัดเจน

Name Servers จะใช้เฉพาะกรณีที่ท่านต้องการย้ายพื้นที่ทั้งหมด ทั้งอีเมลและเวปไซต์ไปใช้ที่อื่น การเปลี่ยน Name Servers จะใช้เวลา 3-4 วัน ข้อควรระวังคือ
ยกเลิกโดเมน
ไม่มีวิธียกเลิกหรือลบโดเมนทิ้ง โดเมนที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ต้องปล่อยให้หมดอายุไปเอง แต่สำหรับโดเมนที่ต้องการใช้งานอยู่ ไม่ควรปล่อยให้หมดอายุ แล้วจดทะเบียนใหม่ เพราะจะมีโอกาสน้อยมากที่โดเมนนั้นจะว่าง เนื่องจากปัจจุบันมีตลาดโดเมนมือสอง คอยจ้องจดโดเมนที่หมดอายุเก็บไว้ขาย

Control Panel

Control Panel สำหรับจัดการเวปไซต์หรืออีเมล เข้าไปที่ http://home.<yourdomain> (<yourdomain> แทนชื่อโดเมนของท่าน)  รหัสผ่านจะส่งไปทางอีเมลหนึ่งในสองฉบับ ตั้งแต่เริ่มเปิดใช้งาน หากท่านลืมรหัสผ่านหรือทำอีเมลฉบับนั้นหายไป ท่านสามารถแจ้งให้ทางบริ๊งส่งไปให้ใหม่ ที่อีเมลเดิมที่เคยส่งไป ถ้าอีเมลเดิมเลิกใช้แล้ว ท่านสามารถแจ้งรหัสผ่านเดิมมาให้ทางบริ๊งตรวจสอบ หากตรงกันทางบริ๊งจะส่งวิธีการใช้งานไปที่อีเมลใหม่

แต่ถ้าลืมรหัสผ่านและ อีเมลเดิมใช้งานไม่ได้ด้วย ต้องใช้หลักฐานยืนยันชื่อของท่าน ให้ตรงกับชื่อที่สมัครมาครั้งแรก หรือ ตรงกับชื่อที่ปรากฎบนหน้าเวปไซต์ ได้แก่ หนังสือรับรองบริษัท หรือ สำเนาบัตรประชาชน ส่งสำเนาเอกสารมาทางอีเมลหรือแฟกซ์ เพื่อให้ทางบริ๊งตรวจสอบ หากพบว่าตรงกัน ทางบริ๊งจะพยายามติดต่อกับผู้ดูแลคนเดิมเพื่อขอคำยืนยัน ก่อนส่ง password ไปให้ท่านที่อีเมลใหม่

Contact
ชื่อและอีเมลที่ทางบริ๊งติดต่อด้วย กรณีที่ท่านเปลี่ยนอีเมล ควรเข้ามาแก้ไขอีเมลในหน้านี้ด้วย ทางบริ๊งจะไม่ส่งข้อมูลให้ชื่อหรืออีเมลอื่นใดนอกหนือจากที่บันทึกไว้ในหน้านี้

รายละเอียดการติดต่อในหน้านี้ จะใ้ช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับพื้นที่เท่านั้น เช่น แจ้งวันหมดอายุ  ส่งรหัสผ่านเข้า Control Panel ฯลฯ ไม่เกี่ยวข้องกับ Whois ซึ่งต้องเข้าไปแก้ไขโดเมน หรือ ใบเสร็จรับเงินซึ่งต้องรบกวนท่านแจ้งทางบริ๊งแยกต่างหาก

เวปไซต์

เริ่มทำเวปไซต์
สำหรับท่านที่ไม่เคยทำเวปไซต์มาก่อน แนะนำให้จ้างคนรับเขียนเวปไซต์จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก แต่ควรระวังผู้รับทำเวปไซต์บางรายนิสัยไม่ดี ทำไม่เสร็จ หรือ ทอดทิ้งลุกค้าเมื่อทำเสร็จแล้ว หรือที่เลวร้ายกว่านั้นคือ เข้าไปลบข้อมูลเมื่อขัดใจกัน ฯลฯ ผู้รับทำเวปไซต์ที่มีความรับผิดชอบ จะรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้ด้วย ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันเช่น 1 ปี วิธีหาผู้รับทำเวปไซต์ที่มีความรับผิดชอบคือ ไม่ควรไปหาด้วยตนเองในอินเตอร์เน็ต ควรสอบถามจากคนรู้จัก และต้องเป็นคนที่เคยจ้างคนนั้นทำเวปไซต์มาก่อน อย่าไปถามคนที่ไม่มีประสบการณ์เป็นอันขาด

วิธีดูคนทำเวปไซต์มืออาชีพหรือคนที่รู้จริงคือ เขาสามารถทำงานได้กับโฮสต์ทุกที่ ในขณะที่ผู้รับทำมือสมัครเล่นหรือคนที่ไม่รู้จริง มักจะขอให้ท่านย้ายไปใช้พื้นที่ที่เขามีอยู่ โดยอ้างเหตุผลเรื่องความเคยชินเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปเริ่มต้นศึกษาใหม่ ในความเป็นจริงแล้วคนที่รู้จริงไม่ต้องไปเริ่มต้นศึกษาใหม่ มีแต่คนไม่รู้จริงเท่านั้นที่มีความรู้อยู่ในวงจำกัด เวปไซต์ที่สร้างจากมือสมัครเล่น มักจะมีปัญหาและจุดโหว่ตามมาภายหลัง นอกจากนี้ ท่านจะต้องไปใช้โฮสต์ที่ไม่รู้ว่าคุณภาพเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า คนทำเวปไซต์มักจะไม่ถนัดเรื่องทางเทคนิค ส่วนใหญ่จึงมักจะพาท่านไปใช้โฮสต์คุณภาพต่ำ ไม่มีระบบป้องกันความผิดพลาด หากท่านหาคนทำเวปไซต์ไม่ได้ ท่านสามารถสอบถามมาทางบริ๊ง ให้ส่งรายชื่อผู้รับทำเวปไซต์ที่รู้ัจัก และเชื่อถือได้ไปให้ท่านติดต่อกันเอง 

หากจำเป็นต้องทำเวปไซต์แบบโต้ตอบ เช่น กรอกข้อความส่งไปทางอีเมล shopping cart ฯลฯ ไม่ควรจ้างคนเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ แต่ควรขอให้คนทำเวปไซต์หาโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลง เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเขียนโปรแกรมไม่ค่อยเก่ง และ หากในอนาคตท่านต้องเปลียนคนเขียน จะไม่มีใครอยากทำความเข้าใจ โปรแกรมที่คนอื่นเขียนไว้อย่างไม่ได้มาตรฐาน แต่ถ้าท่านใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คนทำเวปคนใหม่ สามารถมาแก้ไขต่อได้ โดยอ่านคู่มือของโปรแกรมนั้น แต่ข้อเสียของโปรแกรมสำเร็จรูปคือ บางตัวเขียนมาไม่ดี มีจุดโหว่ ท่านจึงต้องชั่งน้ำหนักให้ดีระหว่างเขียนเองกับใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ถ้าคนทำเวปไซต์เก่ง มีประสบการณ์สูง เขียนใหม่จะดีที่สุด แตถ้าคนทำมีประสบการณ์น้อย ใช้วิธีไหนก็มีจุดโหว่เหมือนกัน

สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาวิธีการทำเวปไซต์ด้วยตนเอง แนะนำให้ดาวน์โหลดโปรแกรม Seamonkey ฟรี ซึ่งเมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะมีโปรแกรม Composer ติดมาด้วย โปรแกรมตัวนี้จะใช้สร้างเอกสาร html  มีข้อดีคือ เปิดได้เร็วและใช้งานง่าย แต่สำหรับผู้รับทำเวปไซต์มืออาชีพนิยมใช้โปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น Dreamweaver ซึ่งต้องไปหาซื้อ

ข้อควรปฎิบัติในการตั้งชื่อไฟล์คือ
หน้าแรกของเวปไซต์ชื่อ index.html (สังเกตุว่าชื่อไฟล์เป็นอักษรตัวเล็กทั้งหมด) เป็นมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลก สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้วอาจใช้นามสกุลอื่นเช่น .php ได้ ถ้ามี index.html กับ index.php อยู่ร่วมกัน เมื่อใช้งานที่บริ๊ง index.php จะถูกเรียกก่อน

เวปไซต์สามารถใส่ไฟล์ได้ทุกนามสกุล ยกเว้น .php ซึ่งจะประมวลผลบนเครื่องแม่ข่าย ส่วนไฟล์นามสกุลอื่นจะประมวลผลบนเครื่องผู้เข้าชมหรือดาวน์โหลด ขึ้นอยู่กับเครื่องผู้ชมมีโปรแกรมอ่านไฟล์นามสกุลนี้หรือไม่ เช่นไฟล์นามสกุล .pdf จะเปิดดูได้ด้วย Adobe Acrobat แต่ถ้าเครื่องผู้ชมไม่มีโปรแกรมใดที่รู้จักไฟล์นามสกุลนี้ จะกลายเป็นหน้าต่างให้ดาวน์โหลดแทน

สถิติผู้เข้าชม
สถิติผู้เข้าชมดูุได้ืจากใน Control Panel http://home.<yourdomain> คลิก Website Statistics เป็นข้อมูลที่บันทึกจาก web server โดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีผู้เข้าชมเวปไซต์ของท่าน แล้วนำมาประมวลผลรายวัน คำอธิบายความหมายของแต่ละช่องอยู่ที่ Quick Help ทางขวามือด้านล่างของหน้านั้น ท่านไม่จำเป็นต้องติดตั้ง counter บนหน้าโฮมเพจเพื่อแสดงจำนวนผู้เข้าชม เพราะนอกจากจะทำให้เวปไซต์ของท่านช้าลงแล้ว ยังเชื่อถือได้น้อยกว่าสถิติที่เก็บบันทึกจาก web server โดยตรง

FTP
สร้างและแก้ไขผู้ใช้ เข้าไปที่ Control Panel http://home.<yourdomain> คลิกที่ File Transfer ด้านซ้าย FTP ใช้ส่งข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้บนเวปไซต์ที่เรียกว่า upload ซึ่งสำหรับมือใหม่ ที่ต้องการความง่าย แนะนำให้ใช้โปรแกรม Windows Explorer (ไม่ใช่ Internet Explorer) วิธีง่ายๆคือบน Microsoft Windows เข้าไปที่หน้าต่าง My Computer พิมพ์ ftp.<yourdomain> ลงในช่อง Address ดูตัวอย่าง แต่ข้อเสียของการใช้ Windows Explorer ทำการ upload คือ เมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งาน จะไม่แสดงเหตุผลตอบกลับจาก server ดังนั้น สำหรับผู้ที่ใช้งานจนเคยชินแล้ว แนะนำให้ใช้โปรแกรม FTP แท้ๆ เช่น ws_ftp ซึ่งจะมีหน้าต่าง log บอกว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น

การใช้ FTP ประกอบด้วย 3 ค่าเท่านั้น คือ Host Name, User Name และ Password หากค่าทั้งสามถูกต้อง จะต้องใช้งานได้แน่นอน

Host Name: ftp.<yourdomain>
User Name และ Password ตรวจสอบ และแก้ไขได้จากใน Control Panel http://home.<yourdomain> ข้อควรระวังสำหรับพื้นที่ใหม่คือ User Name จะเป็นชื่อโดเมน ไม่ใช่ชื่อที่ท่านสมัครมาครั้งแรก

เมื่อ Login ด้วยโปรแกรม FTP เช่น Windows Explorer หรือ ws_ftp จะพบไฟล์ .ftpquota และโฟลเดอร์ชื่อ .stats หรือ เข้าทางเวป weeble manager ที่ http://ftp.<yourdomain> จะพบไฟล์ .wfmrc อยู่ด้วย ซึ่งไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ขึ้นต้นด้วยจุดเหล่านี้ สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน ไม่ควรลบทิ้ง

โปรแกรมบางตัวมีปุ่ม Publish เช่น Mozilla composer, Frontpage ให้ตั้งค่า FTP Hostname: ftp://ftp.<yourdomain>

เขียนโปรแกรม
โฮมเพจที่สามารถโต้ตอบกับผู้ชมได้ เช่น กรอกแบบฟอร์ม เขียนด้วยภาษาโปรแกรมเรียกว่า script ซึ่งมีอยู่หลายภาษา ทั้งที่ทำงานบนเครื่องผู้เข้าชมเช่น Javascript หรือทำงานบนเครื่องแม่ข่ายก่อน เช่น PHP แล้วจึงแสดงผลในรูปแบบ html ออกทาง browser

ข้อเสียของ Javascript คือ มีคำสั่งจำกัดมาก มีหลายคำสั่งที่ browser ของผู้เข้าชมไม่รองรับ บางที browser รุ่นใหม่ แต่ต่างยี่ห้อกัน อย่างเช่น Internet Explorer กับ Firefox ก็ยังใช้คำสั่งไม่เหมือนกัน ดังนั้น การใช้ Javascript ควรใช้ให้น้อยที่สุด ใช้เฉพาะฟังก์ชั่นที่รองรับทุก browser เท่านั้น ส่วนที่เหลือควรพึ่ง script ที่ฉลาดกว่านี้อย่างเช่น PHP

ข้อดี script ที่ทำงานบนแม่ข่าย อย่างเช่น PHP คือ สามารถแสดงผลได้ตามต้องการ โดยไม่ขึ้นอยู่กับ browser นอกจากนี้ PHP ยังมีคำสั่งให้เลือกใช้ได้มากมาย แต่ PHP ก็มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ การตอบโต้อาจไม่รวดเร็วทันใจ เหมือนอย่าง Javascript เช่น ถ้ากรอกแบบฟอร์ม ก็ต้องกรอกจนหมดก่อนแล้วจึงกดปุ่ม submit จึงจะตรวจสอบข้อมูลได้

มี Javascript รุ่นใหม่อยู่แบบหนึ่งเรียกว่า Ajax ที่ทุก browser รองรับ และ สามารถส่งคำสั่งไปประมวลผลต่อบนเครื่องแม่ข่ายด้วย PHP ได้ เท่ากับ Ajax ช่วยขจัดข้อเสียของ PHP ไป จะเห็นได้ว่า Ajax กับ PHP จึงเป็นคู่ที่เหมาะสมที่สุดในการเขียน script

ท่านไม่จำเป็นต้องรู้ทุกภาษา เพราะทุกภาษาสามารถเขียนให้ทำงานได้ผลเหมือนกัน เปรียบเสมือนมนุษย์แต่ละประเทศที่ใช้ภาษาต่างกัน เพื่อสื่อความหมายสิ่งของชิ้นเดียวกัน หลักการเขียน server script คือ ต้องรู้ระบบปฎิบัติการก่อน แล้วจึงเลือกภาษาที่ทำงานเร็วที่สุดบนระบบปฎิบัติการนั้น เช่น ถ้าต้องการเขียนโปรแกรมบน Windows ควรเลือก asp หรือถ้าต้องการเขียนโปรแกรมบน Unix ควรเลือก PHP สำหรับท่านที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกระบบปฎิบัติการใด ขอแนะนำให้ใช้ Unix เนื่องจากถึงแม้ว่า Windows จะเหมาะสำหรับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ Unix ออกแบบมาสำหรับใช้งานแบบแม่ข่าย ซอฟท์แวร์บน Unix จึงมีเทคโนโลยีเหนือกว่าบน Windows มาก เช่น Regular Expression ใช้ทำ subdomain อัตโนมัติ หรือ Compression ที่บน Windows จะบีีบได้เฉพาะหน้า static page เท่านั้น เมื่อทำการบีบหน้า dynamic จะทำงานผิดเพี้ยนทันที

เวปไซต์ที่บริ๊งทำงานบน Unix และ รองรับภาษาที่ใช้ในการเขียน script  คือ PHP และ Perl เท่านั้น อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อต่อไป

ภาษาอื่นๆที่ทางบริ๊งไม่รองรับคือ
สำหรับท่านที่จ้างคนเขียน script แนะนำให้ บอกให้คนเขียนว่าอย่าเริ่มต้นจากศูนย์ คืออย่าเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด แต่ให้หาโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีคุณภาพดีมาดัดแปลง เช่น หากต้องการทำ webboard ให้ใช้โปรแกรม phpBB หรือถ้าต้องการทำ shopping cart ให้ใช้โปรแกรม oscommerce เป็นต้น เนื่องจากเป็นที่่ทราบกันดีว่า คนไทยเขียนโปรแกรมไม่ค่อยเก่ง เพราะระบบการเรียนจะเน้นการท่องจำ ไม่ได้เน้นวิธีคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล การเขียนใหม่ทั้งหมด จะทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ มีความผิดพลาดในการใช้งาน หรือทำให้เครื่องแม่ข่ายรวน หรือ หากต้องเปลี่ยนคนเขียน คนเขียนใหม่จะไม่ต้องการแก้ไขภาษาที่คนเดิมทำไว้ หรือแก้ไขได้ยากเพราะคนเดิมเขียนไว้ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีเอกสารที่ชัดเจน แต่ถ้านำ script สำเร็จรูปมาดัดแปลง คนใหม่จะสามารถทำต่อได้ ด้วยการอ้างอิงจากคู่มือของ script สำเร็จรูปตัวนั้น

Perl
Perl เป็นภาษาที่ทางบริ๊งไม่สนับสนุนให้มือสมัครเล่นเขียน เนื่องจากเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ที่จริงแล้ว perl เป็นภาษาที่น่าใช้เพราะคนเขียนภาษานี้ไม่เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกฟังก์ชันการใช้งานเดิมอย่าง php ดังนั้น perl ที่เขียนเมื่อ 10 ปีก่อนจึงยังใช้งานได้ดีในปัจจุบันโดยไม่ต้องไปแก้ไขอะไร แต่ปัญหาสำหรับผู้ดูแลระบบคือ perl เปิดสิทธิในการใช้งานได้เสรีมากเกินไป ทำให้สคริปของผู้ใช้ที่เขียนมาไม่รัดกุมพอ แล้วโดนเจาะขึ้นมา จะเปิดให้คนนอกเข้ามาป่วนโฮสต์ ได้โดยปราศจากข้อจำกัด ถ้าท่านต้องการเขียน perl กรุณาเขียนด้วยความระมัดระวัง อ่านเพิ่มเติม

PHP
ข้อดีของ PHP คือ มี function ต่างๆ พร้อมใช้งานจำนวนมาก โดยผู้ใช้ไม่ต้องขอให้ผู้ดูแลระบบติดตั้ง library เพิ่มเติมเหมือน asp และ มี script สำเร็จรูปที่เขียนโดยบุคคลอื่นแจกให้ดาวน์โหลดฟรีจากในอินเตอร์เน็ตจำนวนมหาศาล สถานที่ดาวน์โหลด เช่น sourceforge.net  และที่สำคัญ หากฟังก์ชั่นใดไม่มีใช้หรือไม่ถูกใจ ผู้ใช้สามารถเริ่มเขียนฟังก์ชั่นใหม่จากศูนย์ได้

ข้อเสียของ php คือ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป บางฟังก์ชันหรือการตั้งค่าบางอย่างถูกยกเลิกไปเมื่อเปลี่ยน version เช่น script ที่เคยใช้กับ php4 เมื่อนำมาใช้กับ php5 จะเสีย หรือแม้แต่ sub version ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง  เช่น script ที่เคยติดตั้งได้กับ php5.0 เมื่อนำมาใช้กับ php5.3 อาจจะเสีย นอกจากนี้ยังมีปัญหา script ใหม่ๆที่นำมาติดตั้งแต่ php version เดิมล้าสมัยไปแล้ว ทำให้คนเขียนโฮมเพจต้องเดือดร้อนตามแก้ไขตามการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจาก server script เช่น php ยังคงจำเป็นสำหรับงานบางอย่างเช่นการกรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งอีเมล ดังนั้น แนะนำให้ท่านใช้ php เฉพาะเท่าที่จำเป็น หากท่านต้องการทำโฮมเพจแล้วลืมไปเลย แนะนำให้ทำหน้าโฮมเพจแบบ static html จะปลอดภัยที่สุด อาจจะใช้ script ที่มีการกำหนดมาตรฐานไว้แล้ว เช่น DOM (document object model), Javascript หรือ AJAX (XMLHttpRequest) ช่วยด้วย

ก่อนเขียน PHP ท่านต้องมีคู่มือเสียก่อน ดาวน์โหลด Documentation ฟรีได้จากเวปไซต์ www.php.net  การเขียน PHP ง่ายมาก สิ่งที่ต้องการเขียนส่วนใหญ่มีอยู่ในตัวอย่างในคู่มือ สามารถ copy มาใช้ได้เลย

สิ่งแรกที่ควรเปิดดูคือฟังก์ชัน phpinfo() ซึ่งจะแสดงการตั้งค่าต่างๆทั้งหมดอของ php โดยมีอยู่ 2 ช่อง คือ Local Value และ Default Value หากท่านต้องการแก้ไขค่าใน phpinfo สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยใช้ฟังก์ชัน ini_set() หรือ ตั้งค่า php_value ไว้ในไฟล์ .htaccess (ไม่แนะนำให้ใช้ ไฟล์นี้เพราะจะทำให้เวปไซต์ของท่านเรียกได้ช้าลงเนื่องจากการเรียกไฟล์ทุกๆครั้งต้องอ่าน .htaccess ก่อน) ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะเปลี่ยนค่าในช่อง Local Value โดยไม่จำเป็นต้องขอให้ทางบริ๊งแก้ไข php.ini ซึ่งแสดงไว้ในช่อง Default Value

ค่าใน Local Value ที่ไม่อนุญาติให้ผู้ใช้แก้ไข คือ mysql.allow_persistent เนื่องจาก persistent connection ทำให้มีการจอง connection จนเต็มทำให้ผู้ใช้ท่านอื่นไม่มีโอกาสได้ใช้ 

PHP5
ท่านสามารถใช้ php4 และ php5 ในหน้าโฮมเพจเดียวกันได้  โดยเรียกดู php5 ได้จาก http://php5.<yourdomain>  หากท่านต้องการใช้เวปไซต์เป็น php5 โปรดแจ้งบริิ๊งสตูดิโอให้ดำเนินการเปลี่ยนให้

php5 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ติดตั้งโปรแกรมสำเร็จรูป
ปัจจุบันมีโปรแกรม(หรือ script) สำเร็จรูปที่เขียนจาก php แจกฟรีจำนวนมาก ทางบริ๊งรองรับ script สำเร็จรุปทุกตัว  เช่น postnuke phpNuke mambo ฯลฯ แต่ท่านควรระวัง เนื่องจาก script สำเร็จรูปแทบทุกตัว มีโอกาสโดนเจาะได้ บางตัวเจาะง่ายหรือสร้างปัญหาตามมา ควรหลีกเลี่ยง เช่น phpNuke, Joomla, Wordpress บางตัวเขียนมาดีเจาะยาก เช่น phpbb, oscommerce แต่อาจถูกเจาะเล็กน้อยได้เช่นกัน ดังนั้น ท่านควรสำรองข้อมูลเป็นระยะ วิธีสังเกตุ script ที่มีคุณภาพดี
  1. documentation ละเอียด  document จะแยกสำหรับ script แต่ละ version ไม่ใช่ทุก version ใช้ร่วมกัน ไม่อยู่ในรูปแบบของ wiki ที่ใครๆเข้าไปแก้ไขได้ เนื่องจากบางคนรู้ไม่จริง ในไม่ช้า document นั้นจึงเต็มไปด้วยความคิดเห็นที่เละเทะขาดระเบียบ เนื่องจากคนใหม่ไม่กล้าไปลบความเห็นของคนเก่าที่เขียนไว้แล้ว document ที่ดีจะต้องมีคนกลุ่มหนึ่งดูแลเท่านั้น
  2. ไม่พยายามเขียนไฟล์หรือ directory ลงไปบนพื้นที่ ทำได้อย่างมากที่สุดคือ เขียนลงบนไฟล์ที่ chmod world writable ไว้แล้ว
การเขียนไฟล์ลงบนพื้นที่
การเขียนไฟล์ลงบนพื้นที่ ทำได้ 2 วิธีคือ
  1. ใช้ฟังก์ชัน ftp แนะนำวิธีนี้ เพื่อที่ท่านจะไม่ต้องยุ่งกับเรื่อง permission บางไฟล์อาจต้องเขียนลงในโฟลเดอร์ชั่วคราวด้วยวิธีที่ 2 ก่อนจะส่งไปเก็บไว้ในพื้นที่
  2. ใช้ฟังก์ชันอื่นๆที่จัดการกับไฟล์โดยตรงเช่น fwrite() ก่อนจะเขียนได้ ต้องเปิด Permission ของโฟลเดอร์ที่จะเขียน โดยใช้โปรแกรม FTP เช่น ws_ftp คลิกขวาที่ชื่อโฟลเดอร์แล้วเลือก chmod ตั้งค่าเป็น 777 หรือเลือกทั้งหมด read/write/execute ภายใต้ owner/group/other วิธีนี้ ควรเขียนไฟล์ลงในโฟลเดอร์ย่อยเท่านั้น ไม่สามารถเขียนลงในโฟลเดอร์หลักหรือ root directory ซึ่งได้แก่โฟลเดอร์แรกที่เห็นใน FTP ก่อนที่จะเข้าไปยังโฟลเดอร์ย่อย มี Address ขึ้นต้นด้วย / ซึ่งทางบริ๊งจะไม่เปิดให้เขียนไฟล์ลงใน โฟลเดอร์หลักด้วย script เพราะโฟลเดอร์หลัก เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทั้งเวปไซต์ รวมไปถึงเวปไซต์หน้าแรก หาก script มีจุดโหว่ เปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาเจาะระบบ จะส่งผลให้้ข้อมูลทั้งเวปไซต์รวมทั้งหน้าแรกได้รับผลกระทบไปด้วย ถึงแม้ว่าท่านจะเขียน script ด้วยตนเองหรือใช้ script สำเร็จรูปที่รัดกุมปลอดภัย  แต่ท่านก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่า script ของท่านจะปลอดภัยไม่โดนเจาะจากภายนอก ยกตัวอย่างเช่น script upload file ธรรมดาที่ไม่จำกัดนามสกุลของไฟล์ไว้ ก็อาจโดนเจาะได้ โดยการ upload script php ขึ้นไปแล้วเริ่มใช้งานผ่าน script ตัวใหม่นั้น
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ script เขียนไฟล์ลงบนพื้นที่โดยตรง ควรเปลี่ยนมาเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลแทน เช่น MySQL เนื่องจาก เหตุผลเรื่องความเสถียรและความปลอดภัยคือ
สำหรับท่านที่ต้องการทำ counter แนะนำให้ดู Website Statistics ใน Control Panel http://home.<yourdomain> จะเชื่อถือได้มากกว่า เนื่องจากเป็นการเก็บสถิติโดยตรงจาก web server ส่วน counter เชื่อถือได้ยาก เช่น ผู้ชมคนเดิมกลับมาเรียกเวปไซต์หน้าเดิมซ้ำ จะถูกนับเพิ่มเป็นสอง เป็นต้น counter เหมาะสำหรับเวปไซต์สมัครเล่น ที่ไม่มี Statistics เช่น พวกพื้นที่ฟรี

ฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลคือ การแยกข้อมูลที่สำคัญ ออกจากข้อมูลที่ไม่สำคัญ เพราะถ้าข้อมูลปนกัน ผลการค้นหาอาจจะติดข้อมูลไม่สำคัญมาด้วย ทำให้สับสน

ฐานข้อมูลเกิดขึ้นเพราะการเขียนไฟล์ลงบนพื้นที่โดยตรงไม่สะดวกและติดปัญหาเรื่องความปลอดภัย ฐานข้อมูล เปรียบเสมือนหนึ่งโฟลเดอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และ หนึ่งตารางเปรียบเสมือนหนึ่งไฟล์ที่เก็บอยู่ในโฟลเดอร์นั้น เพียงแต่มีการเปลี่ยนชื่อเรียก เพราะ ฐานข้อมูลจะมีโปรแกรมอีกตัวหนึ่งเพิ่มเข้ามา ทำหน้าที่เป็น server คอยรับการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับไฟล์เหล่านี้ (คำว่า server ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แต่หมายถึงโปรแกรมตัวหนึ่งบนคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เปิด port รอให้โปรแกรมอื่นของผู้ใช้ในอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้งาน)

ฐานข้อมูลมีหลายประเภท เช่น SQL, Directory ฯลฯ สำหรับ SQL เองยังแบ่งออกได้หลายยี่ห้อ เช่น Microsoft SQL, MySQL , Oracle, Informix ฯลฯ ทุกยี่ห้อใช้ภาษา SQL เหมือนกัน แต่มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น บางยี่ห้อออกแบบมาให้เขียนได้เร็วเช่น Informix ในขณะที่่บางยี่ห้อออกแบบมาให้อ่านได้เร็ว แต่เขียนได้ไม่เร็วนัก เช่น MySQL จึงเหมาะสำหรับใช้งานบนเวปไซต์ ทางบริ๊งรองรับเฉพาะ MySQL

MySQL
ฐานข้อมูลไม่ได้สร้างขึ้นเอง และไม่สามารถสร้างได้จาก script บนหน้าเวปไซต์ ก่อนเริ่มต้นใช้ฐานข้อมูล ต้องเข้าไปสร้างฐานข้อมูลใหม่ใน Control Panel http://home.<yourdomain> คลิก Database คลิก Add User แล้วตามด้วย Add Database โดยจับคู่กับ User ที่สร้างไว้่ก่อนหน้านี้ ข้อควรระวังคือ อย่าใช้ Username/Password ตรงกับ FTP เพราะ ถ้า script โดนเจาะ ทำให้บุคคลภายนอกมองเห็น Username/Password ของฐานข้อมูล เขาอาจใช้ข้อมูลที่เห็นทำการ FTP เข้ามาบนพื้นที่ของท่านได้

ส่วนของ Add Database จะมีให้เลือก Language เป็น Thai(tis620) หรือ International(utf8) ซึ่งก็คือการเข้ารหัสภาษา(encoding) ของฐานข้อมูล หากเลือก encoding ใดแล้ว ตาราง จนถึง column ที่สร้างต่อๆกันมา จะใช้ค่า encoding เดียวกับฐานข้อมูล ยกเว้นมีการบังคับ encoding ใหม่
การจัดการฐานข้อมูลที่สร้างไว้แล้ว เช่น สร้างหรือแก้ไขตาราง คลิกที่รูปตารางใต้ View หลังชื่อ Database ที่ต้องการใช้งาน เพื่อเปิด phpMyAdmin ขึ้นมาดูค่าต่างๆ เช่น MySQL version หรือเรียกโดยตรงที่ http://mysql.<yourdomain>/
 
การตั้งค่า script เพื่อติดต่อฐานข้อมูล ให้ค่า Hostname, Username, Password ที่สร้างไว้ ซึ่งจะปรากฎอยู่ในตารางในหน้า http://home.<yourdomain> คลิก Database  ข้อควรระวังคือ Hostname ใช้เป็น "mysql" ไม่ใช่ "localhost" เนื่องจากฐานข้อมูลแยกอยู่คนละเครื่องกับเครื่องที่ทำเวปไซต์

การส่งข้อมูลจากในเครื่องของท่านขึ้นไปเก็บไว้บน host ทำได้ด้วยการ dump ข้อมูลออกมาในรูปแบบของ sql ก่อนแล้ว upload ไฟล์นี้ขึ้นไปทาง phpMyAdmin โดยคลิกที่ชื่อฐานข้อมูลด้านซ้ายของหน้าต่าง phpMyAdmin จะปรากฎหน้าต่างแสดง table ขึ้นทางขวามือ ให้คลิกที่ SQL แล้วกดปุ่ม Browse หาไฟล์ข้อมูล หรือสำหรับไฟล์ sql ขนาดใหญ่มากๆ ให้ upload ผ่าน FTP แล้วเขียน script แตกออกมา หรือแจ้งให้ทางบริ๊งช่วยแตกให้

การเรียกเวปไซต์ส่วนใหญ่เป็นการอ่าน ข้อเสียของ MySQL คือ เขียนได้ช้า ดังนั้นการเขียน script ติดต่อฐานข้อมูลที่ดี จึงควรระวังเรื่องการเขียนลงฐานข้อมูล หลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดีคือ
  1. หลีกเลี่ยงการเขียนลงฐานข้อมูลโดยไม่จำเป็น เพราะ การเขียนช้ากว่าการอ่านมาก
  2. อย่ากระจุกข้อมูลทุกอย่างลงใน table เดียว เพราะหนึ่ง table คือหนึ่งไฟล์ ยิ่งไฟล์ใหญ่ยิ่งอ่านได้ช้าลง การอ่านข้อมูลจากหลายๆ table จะเร็วกว่า
ข้อควรระวังในการสร้างตารางคือ ใช้ myisam เท่านั้น อย่าใช้ innodb  เนื่องจาก innodb จะเก็บข้อมูลแยกไว้ 2 แห่งคือในฐานข้อมูล และ ใน index file ส่วนกลาง ไฟล์แยกกันหมายถึงต้องสำรองข้อมูลคนละเวลากัน หาก innodb ของท่านถูกเขียนระหว่างสำรองข้อมูลจะทำให้ข้อมูลเสียทันที

Subdomain
โดเมนในภาษาอังกฤษ แปลว่า อาณาจักร คือ <yourdomain> สามารถนำมาแบ่งเป็นชื่อย่อยๆ ด้วยการเติมชื่อข้างหน้า แล้วคั่นด้วยจุด จะเรียกว่า Subdomain เช่น www.<yourdomain> mail.<yourdomain> ฯลฯ

Subdomain ที่ขึ้นต้นด้วย www. ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานสำหรับเวปไซต์ แต่ไม่ใช่การบังคับ ท่านสามารถเรียกเวปไซต์ที่ขึ้นต้นด้วยชื่ออื่นนอกเหนือจาก www. ได้เช่นกัน  สำหรับที่บริ๊ง Subdomain เหล่านี้ทำงานอัตโนมัติ โดยไม่ต้องตั้งค่าใดๆเพิ่มเติม ชื่อ http://sub.<yourdomain> จะชี้ไปที่ http://<yourdomain>/sub/ โดยโฟลเดอร์ชื่อ sub ต้องเป็นอักษรภาษาอังกฤษและตัวเล็กทั้งหมด และมีตัวตนอยู่ หากไม่มีโฟลเดอร์นี้ ต้องเข้าไปสร้างใน FTP

subdomain บางชื่อที่สงวนไว้เป็นมาตรฐานการใช้งาน หากทดลองเรียก http://sub.<yourdomain> แล้วแสดงหน้าโฮมเพจที่แตกต่างจาก http://<yourdomain>/sub/ (แต่ไม่ใช้ 404 Not Found) แสดงว่าชื่อนั้นเป็นชื่อสงวน เช่น
หากท่านต้องการให้ subdomain ชี้ไปที่โฟลเดอร์อื่น เช่น หน้าแรก โปรดแจ้งบริ๊งสตูดิโอ ให้ทำ symbolic link ให้

Subdomain เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง สังเกตุว่าเวปไซต์ใหญ่ๆมักจะไม่ใช้ Subdomain แต่จะนิยมใช้ชื่อโฟลเดอร์ต่อท้ายแทน คือ http://www.<yourdomain>/sub/ เนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น
ssl
ssl เรียกใช้งานได้อัตโนมัติโดยเติม s เข้าไปหลัง http เช่น https://www.brinkstudio.com/ ก่อนเข้าสู่ ssl ครั้งแรกด้วย Internet Explorer จะปรากฎหน้าต่าง Security Alert ให้กด Yes ส่วน ssl ที่ไม่แสดงหน้าต่าง Security Alert นั้นจะต้องเสียเงินซื้อจากทางผู้ที่ขาย ssl certificate เป็นรายปี ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ โดย certificate ที่ซื้อมาจะใช้ได้กับหนึ่งโดเมนเท่านั้น

สำหรับท่านที่ติดต่อกับธนาคารในเมืองไทยเพื่อรับบัตรเครดิตผ่านเวปไซต์ ธนาคารอาจขอข้อมูลว่าเวปไซต์ของท่านมี ssl หรือไม่ ท่านอาจตอบว่ามีหรือไม่มีก็ได้ เพราะ การตัดบัตรเครดิตของธนาคารในเมืองไทย ต้องทำหน้าโฮมเพจให้ redirect ไปยังหน้าโฮมเพจของธนาคารก่อน แล้วให้ผู้ซื้อไปกรอกข้อมูลในหน้าโฮมเพจของธนาคารแทน ไม่สามารถเขียน script ติดต่อกับ api ของธนาคารโดยตรงเหมือนในต่างประเทศ ซึ่งการใช้ api นี้ต้องการ ssl เท่านั้นเพื่อความปลอดภัยในการส่งข้อมูล

ข้อมูลสำรอง
โฮมเพจและฐานข้อมูลจะถูกสำรองข้อมูลไว้ทุกๆคืน แบบ Incremental backup หากท่านลบหรือแก้ไขข้อมูลผิด และต้องการกู้ข้อมูลคืน ขอให้ท่านแจ้งตำแหน่งของไฟล์และวันเวลามาให้ทางบริ๊งค้นข้อมูลสำรองให้ และ เพื่อความสะดวก ก่อนแก้ไขข้อมูลใด ขอให้ท่านสำรองข้อมูลเก็บไว้ในเครื่องส่วนตัวของท่านด้วย

wap
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันสามารถดูเอกสาร html ได้แล้ว ท่านจึงไม่จำเป็นต้องเขียนหน้าโฮมเพจเพื่อรองรับ wap เหมือนในอดีต สำหรับท่านที่สนใจจะเขียน wap ทาง host รองรับอยู่แล้ว สามารถใช้ไฟล์นามสกุล .wml .wbmp ได้ทันที  แต่แนะนำให้ท่านเขียน script ส่ง header ออกมาเป็น wap ดีกว่าที่จะใช้ไฟล์นามสกุล .wml โดยตรง เนื่องจากไฟล์เหล่านั้นติด cache ของ proxy ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้ง่าย การเปลี่ยนเนื้อหาแต่ละครั้ง เมื่อ upload ขึ้นไปแล้ว ลองเรียกดูอาจจะยังไม่เห็นเนื้อหาใหม่ในทันที

Search Engine
แหล่งค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต หรือ Search Engine ในปัจจุบัน  เช่น Google, Yahoo, MSN ฯลฯ จะใช้วิธีมาดึงเนื้อหาบนเวปไซต์ของท่าน ไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของเขา เมื่อมีผู้ค้นหาคำที่ตรงกับบนเวปไซต์ของท่าน จึงจะแสดงผลเป็น link มายังเวปไซต์ของท่าน หลังจากที่ท่านจดโดเมน และทำเวปไซต์เสร็จแล้ว รอสักระยะหนึ่ง โดยไม่ต้องทำอะไร ซึ่งอาจใช้เวลานานนับเดือน Search Engine จะมาค้นพบเวปไซต์ของท่านเอง ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้ทำ link มาจากที่ใดเลย แต่ถ้าหากท่านมีความต้องการพิเศษ เช่น จดโดเมนใหม่แล้วต้องการให้ Search Engine ค้นพบเร็วขึ้น หรือ ต้องการเพิ่มอันดับ ให้เวปไซต์ของท่านปรากฎบนหน้าแรกของผลการค้นหา ท่านควรศึกษาวิธีการเพิ่มเติมจากเวปไซต์ของ Search Engine แห่งนั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเพราะคิดไปเอง เช่น ความเข้าใจที่ว่าการทำเวปไซต์ด้วย Meta tag จะทำให้ค้นหาได้ผลดีขึ้นนั้น ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะ Search Engine ในปัจจุบันไม่มีการใช้ Meta tag เหมือน Search Engine สมัยก่อน

อีเมล

อีเมล่ถูกออกแบบมาให้เป็นการสื่อสารที่ไม่จำกัดเวลา เช่น เมื่อเครือข่ายขัดข้อง อีเมลจะพยายามส่งใหม่เป็นระยะจนกว่าจะสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ อีเมลจึงเหมาะสำหรับเป็นทางเลือกหนึ่งในการติดต่อสื่อสารที่ไม่เร่งด่วน และ ใช้สำรองข้อมูล สำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยความรวดเร็วทันใจ ควรใช้วิธีอื่น ควบคู่ไปด้วย เช่น โทรศัพท์, Instant Messaging หรือแฟกซ์

สร้างและแก้ไขผู้ใช้
สร้างและแก้ไขชื่ออีเมลภายใต้ชื่อโดเมน  you@<yourdomain> เข้าไปที่ Control Panel http://home.<yourdomain> แล้วคลิกที่ Email
หลักการตั้งชื่อนำหน้าอีเมลคือ ควรจะมีแค่ตัวอักษร a-z เท่านั้น มีขีดกลางได้ แต่ไม่ควรมีจุดหรือขีดล่าง เพราะเวลาที่ส่งไปให้ใคร อาจมี link ขีดเส้นใต้ทับไปทำให้ดูยาก  และ ไม่ควรมีตัวเลข เพราะ เวลาเขียนใส่เศษกระดาษให้ใคร เขาอาจจะสับสนระหว่างตัวอักษร z กับเลข 2 หรือตัวอักษร o กับตัวเลข 0

การรับส่งอีเมล
ทำได้ 2 วิธีคือ
Webmail
วิธีใช้ Webmail คือ เปิด Browser แล้วพิมพ์ในช่อง Address ว่า http://mail.<yourdomain>

Webmail ข้อดีคือ ความง่ายในการใช้งาน ที่ใช้เพียง Browser ธรรมดา เช่น Mozilla หรือ Internet Explorer(ไม่แนะนำให้ใช้โปรแกรมนี้ เนื่องจากมีจุดโหว่มาก เสี่ยงต่อการติด worm หรือ spyware ได้ง่าย) ข้อเสียของ Webmail คือไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้งานในชีวิตประจำวัน เนื่องจาก ความไม่สะดวก คือก่อนเริ่มต้นใช้งานต้องพิมพ์ Username และ Password ก่อนเข้าใช้งานทุกครั้ง  และ ข้อจำกัดของ Browser คือ Browser ไม่รองรับไฟล์ขนาดใหญ่ และ ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมของ http เช่น การเรียก http นั้นต้องผ่าน Proxy ของผู้ให้บริการอินเตอรเน็ตที่ใช้ ซึ่งบางแห่งอาจตั้งค่าผิดมาตรฐาน หรือ ซอท์แวร์ทำงานบกพร่อง ทำให้การแสดงผลผิดเพี้ยน สำหรับผู้ที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน แนะนำให้ใช้โปรแกรมอีเมลในเครื่อง

ไม่มีการจำกัดขนาดอีเมลขาเข้า แต่สำหรับการส่งเมล์ออกด้วย Webmail จะมีการจำกัดขนาดของเอกสารแนบ ขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถส่งออกไปได้ โดยแสดงอยู่ในบรรทัดถัดไปจากปุ่ม Browse ในหน้า Compose เนื่องจากอีเมลไม่ได้ออกแบบไว้ให้ใช้ส่งเอกสารขนาดใหญ่ หากต้องการส่งเอกสารขนาดใหญ่ไปให้ผู้อื่น ควรเลี่ยงไปใช้วิธีอื่น เช่น Instant Messaging หรือ upload ขึ้นไปเก็บไว้บนเวปไซต์แทน หากเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องใช้วิธี zip หรือแบ่งเอกสารออกเป็นขนาดเล็กๆ

โปรแกรมอีเมล
สำหรับท่านที่ใช้อีเมลอยู่เป็นประจำ คงจะไม่สะดวกที่จะใช้ Webmail ซึ่งต้องพิมพ์ Username และ Password ทุกครั้งก่อนเข้าใช้งาน นอกจากนี้ Webmail ยังถูกควบคุมโดยกลไกหลายตัวที่อาจผิดพลาดได้ เช่น ข้อมูลเก่าในเครื่องของตนเอง หรือ ใน proxy ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน มีโปรแกรมที่ใช้สำหรับรับส่งอีเมลโดยเฉพาะ ข้อดีคือ เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว โปรแกรมจะทำงานอัตโนมัติทั้งหมด ตั้งแต่เข้าสู่ระบบ จนถึงดึงอีเมลมาเก็บไว้ในเครื่อง อ่านได้ทันที สำหรับการใช้งานที่เน้นประสิทธิภาพแล้ว โปรแกรมในเครื่องจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น โปรแกรมในเครื่อง อ่านภาษาและเอกสารแนบได้ดีกว่า webmail

โปรแกรมในเครื่องแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ทำงานบน
การส่งอีเมลออกจากโปรแกรม มีข้อจำกัด สองข้อคือ ต้องรับเมล์ก่อนจึงจะสามารถส่งออกได้ และ เปิดให้ส่งจากอีเมลภายใต้ชื่อโดเมนของท่านเท่านั้น

การใช้งานผ่านโปรแกรมในเครื่อง จำกัดขนาดของอีเมลขาเข้าและขาออกอยู่ที่ 150MB (ซึ่งหมายถึงท่านจะแนบไฟล์ได้ไม่เกิน 100MB เพราะอีเมลจะต้องแปลงไฟล์แนบให้เป็นตัวอักษรซึ่งจะขยายขนาดไฟล์ขึ้นอีกประมาณ 1.5 เท่า) มาตรฐานอีเมล ไม่ได้ออกแบบไว้ให้ใช้ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าจะเปิดให้ท่านส่งไฟล์ขนาดใหญ่กว่านี้ แต่ปลายทางหลังแห่งยังคงจำกัดขนาดไฟล์ขนาดใหญ่ที่รับได้ ทำให้อีเมลที่ท่านส่่งไปถูกตีกลับ หากท่านต้องการส่งเอกสารขนาดใหญ่ไปให้ผู้อื่น ควรเลี่ยงไปใช้วิธีอื่น เช่น  Instant Messaging หรือ upload ขึ้นไปเก็บไว้บนเวปไซต์แทน

Over Quota
เมื่อพื้นที่เต็ม อีเมลที่ส่งมาจากภายนอก จะไม่ตีกลับทันที แต่จะรออยู่ที่เครื่องแม่ข่ายต้นทางจนกระทั่งท่านกลับมาจัดการพื้นที่ให้ว่าง อีเมลที่รออยู่จะเริ่มทยอยเข้ามา ระยะเวลาการรอนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของเครื่องแม่ข่ายต้นทางแต่ละแห่ง ตามปกติจะรอได้ประมาณ 4-7 วัน แต่บางแห่งอาจตั้งค่าผิดมาตรฐานรอได้เพียงไม่กี่นาที ส่งผลให้อีเมลตีกลับทันที

การลบเมล์จาก Webmail ถ้าพื้นที่ยังไม่เต็ม ยังไม่ Over Quota อีเมลที่ถูกลบจะถูกย้ายไปเก็บไว้ใน Trash ซึ่งไม่มีผลทำให้พื้นที่รวมลดลง แต่ถ้าพื้นที่เต็ม อีเมลที่ถูกลบจะหายไปเลย พื้นที่ที่ใช้ไปจะลดลงเรื่อยๆจนกระทั่งเหลือน้อยกว่า Quota แล้วอีเมลที่ถูกลบหลังจากนั้นจึงจะถูกย้ายไปเก็บใน Trash

ไวรัส
อีเมลที่เข้ามาใหม่ทุกฉบับจะถูกตรวจสอบกับฐานข้อมูลไวรัสโดยอัตโนมัติ และถ้าหากพบว่ามีไวรัสแนบมาด้วย อีเมลฉบับนั้นจะถูกลบทิ้ง ไม่ได้รับอนุญาติให้ผ่านเข้าไปถึงผู้รับ ฐานข้อมูลไวรัสจะทำการ update ตนเองอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลา แต่อาจเป็นไปได้ที่ไวรัสตัวใหม่ยังไม่ถูกพบ ส่งเข้ามาถึงผู้รับก่อน  ผู้รับจึงควรระวังอย่าเปิดไฟล์นามสกุลประหลาดเช่น .exe .bat ที่แนบมากับอีเมล และหากไม่แน่ใจควรส่งต่อให้แก่ผู้ดูระบบตรวจสอบ

เมล์ขยะ
เมล์ขยะคืออีเมลจากคนที่ไม่รู้จัก ส่วนใหญ่จะส่งมาเพื่อขายสินค้า การที่ติดต่อทางอีเมลภายในกลุ่มคนรู้จักที่ติดต่อกันอยู่เป็นประจำ ไม่มีโอกาสได้รับเมล์ขยะ แต่เมล์ขยะ เกิดจาก
เมื่อนักส่งเมล์ขยะพบอีเมลของท่านเข้าแล้ว เขาจะบันทึกอีเมลของท่านไว้ในฐานข้อมูลของเขา แล้วส่งเมล์ขยะมาให้ในเวลาต่อมา  ข้อดีของเมล์ขยะคือ ช่วยให้ท่านทราบว่าอีเมลยังใช้งานได้ปกติ แต่ข้อเสียคือ ถ้ามีมากจนเกินไป เช่น วันละหลายๆฉบัับ จะทำให้ท่านต้องเสียเวลาลบ อาจลบผิด ไปลบอีเมลที่ส่งมาจากคนรู้จักด้วย

เมื่อท่านได้รับเมล์ขยะแล้ว ไม่มีทางป้องกันใดๆที่ได้ผล 100% ยิ่งป้องกัน ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดเกิดขึ้นกับอีเมลที่ส่งมาจากผู้บริสุทธิ์ด้วย เนื่องจากผู้ดูแลระบบปลายทางบางแห่งตั้งค่าไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ระบบอีเมลของเขาทำงานคล้ายกับพวกส่งเมล์ขยะนั่นเอง การบล็อกชื่ออีเมลไม่ได้ผล เพราะเมล์ขยะจะเปลี่ยนชื่ออีเมลของผู้ส่งไปเรื่อยๆ และถึงแม้ว่าจะลบอีเมลชื่อที่ได้รับเมล์ขยะทิ้งไปนานเท่าใดก็ตาม แต่นักส่งเมล์ขยะจะไม่ลบชื่ออีเมลชื่อนั้นออกจากฐานข้อมูลของพวกเขา หากเปิดใช้อีเมลชื่อนั้นใหม่ ก็จะมีเมล์ขยะเข้ามาใหม่  วิธีเดียวที่จะป้องกันเมล์ขยะได้ผลคือ การแก้ไขที่ต้นเหตุ
บริ๊งสตูดิโอ ช่วยป้องกันเมล์ขยะที่ส่งมาจากมือสมัครเล่น ได้เพียงส่วนหนึ่งซึ่งมีจำนวน 80-90% ของเมล์ขยะทั้งหมด ส่วนที่เหลือคือนักส่งเมล์ขยะมืออาชีพ ที่ป้องกันได้ยาก สำหรับท่านที่ได้รับเมล์ขยะ เกิดจากอีเมลของท่าน ตกไปอยู่ในมือของนักส่งเมล์ขยะมืออาชีพ  แนะนำให้ใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล ที่มีคัดแยกเมล์ขยะแบบ Machine Learning เช่น Mozilla Thunderbird โดยสอนโปรแกรมให้รู้ว่าอีเมลฉบับใดเป็นเมล์ขยะ ฉบับใดไม่ใช่ หลังจากนั้นโปรแกรมจะเริ่มเรียนรู้และคัดแยกด้วยตนเองจากประสบการณ์ที่เคยถูกสอนไว้  สำหรับผู้ใช้โปรแกรมที่ไม่มีระบบนี้ เช่น Outlook Express ให้ติดตั้งโปรแกรมแยกต่่างหากเช่น POPFile, SpamPal, Spambayes(Outlook plug-in สำหรับ Microsoft Outlook เท่านั้น ไม่ใช่ Outlook Express)
 
Signature
การส่งข้อความแนบท้าย เช่น เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ไปกับอีเมลที่ส่งใหม่ทุกฉบับ ข้อความแนบท้ายนี้ สามารถบันทึกไว้ใน Signature ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ใหม่ทุกครั้งที่ส่ง